บริษัท ไอที ซิตี้ จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนองค์กรภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี และมุ่งสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อน ESG ไปกับทุกภาคส่วน เพื่อขยายผลครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่าและสังคมในวงกว้าง ภายใต้พันธสัญญาด้านความยั่งยืน ว่าบริษัทจะเป็นผู้นำในการสรรหาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนชีวิตของผู้คนในสังคมให้ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์  โดยการนำศักยภาพของธุรกิจมาร่วมสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

โครงสร้างการกำกับดูแลเพื่อความยั่งยืน

ภายใต้บริบททางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บริษัทได้กำหนดให้มีคณะทำงานขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อกำหนดแนวทางและแผนการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เหมาะสม อันประกอบไปด้วยมิติด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านสังคม และมิติด้านบรรษัทภิบาล ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบนโยบายที่คณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้กำหนดไว้

ห่วงโซ่คุณค่าแห่งความยั่งยืน

การจัดประเด็นสำคัญ

บริษัทได้ทำการวิเคราะห์และรวบรวมประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาประเด็นที่สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อใช้ในการประเมินประเด็นที่สำคัญของบริษัท ซึ่งบริษัทเลือกใช้แนวคิด TRIPLE BOTTOM LINE ในการออกแบบกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ซึ่งเน้นการสร้างความสมดุลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดำเนินกิจการด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล โดยอาศัยหลักการตามแนวทางสากลด้านการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (GRI Standard)

พิจารณาวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก และบริบทด้านความยั่งยืน ตลอดจนแนวโน้มและทิศทางความยั่งยืนในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าไอที ภาวะการแข่งขันในตลาด ร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน เช่น ผลการดำเนินงาน จุดแข็ง จุดอ่อน ปัจจัยความเสี่ยง และระบุประเด็นที่มีผลกระทบต่อการสร้างคุณค่าของบริษัท ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

พิจารณาลำดับความสำคัญของประเด็น โดยวัดความสำคัญจากมุมมองของผู้มีส่วนได้เสียภายนอก และพิจารณาจากมุมมองของบริษัท ว่าประเด็นเหล่านั้นนั้นส่งผลกระทบต่อความสามารถของบริษัทในการดำเนินธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายหรือไม่ ตามเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง (Risk Matrix)

รวบรวมประเด็นที่มีความสำคัญที่เลือกได้ เพื่อหารือร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน และนำเสนอประเด็นที่ได้จากการจัดลำดับความสำคัญให้กับคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อทบทวนถึงความสมบูรณ์ของเนื้อหา เพื่อนำเสนอในแบบ 56-1 One Report และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัท

ทบทวนการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการทบทวนประเด็นด้านความยั่งยืนและพัฒนาการรายงานอย่างต่อเนื่อง

จากประเด็นความยั่งยืนทั้งหมดภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่จัดทำไว้ บริษัทได้ทำการคัดเลือกประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีสาระสำคัญ ซึ่งกระทบต่อความสามารถในการสร้างคุณค่าของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในระยะสั้น กลาง ยาว ได้แก่ การเข้าถึงสินค้าและบริการ  ความพึงพอใจของลูกค้า  การพัฒนาบุคลากร  และการเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อนำมาจัดทำกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน

กลยุทธ์และแนวทางในการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

กลยุทธ์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บริษัทมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำในการสรรหาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนชีวิตของผู้คนในสังคมให้ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ โดยบริษัทได้นำกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและกลยุทธ์ทางธุรกิจมาบูรณาการเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่เน้นการสร้างสมดุล ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ดังนี้

การเข้าถึงสินค้าและบริการ 

บริษัทมุ่งมั่นในการตอบสนองต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสนับสนุนการใช้สินค้าเทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ โดยบริษัทมุ่งเน้นคัดสรรผลิตภัณฑ์และส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีและคุ้มค่า ตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค จะช่วยตอบสนองต่อพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าเฉพาะบุคคล เพื่อให้บริษัทสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าได้

การดูแลและพัฒนาพนักงาน

ทรัพยากรบุคคลเป็นหัวใจหลักของการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กร และเป็นทรัพยากรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ปัจจุบันบริษัทต่างๆ ประสบปัญหาอัตราการลาออกและย้ายงานที่สูงมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีวัฒนธรรมในการใช้ชีวิต ตลอดจนทัศนคติในการทำงานที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยบริษัทเองได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการสรรหาพนักงานที่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และเคารพในความแตกต่างของพนักงาน พร้อมทั้งพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร เพื่อเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนการรักษาพนักงานด้วยการมอบสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เท่าเทียม เพียงพอต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรและอยู่ร่วมงานกับบริษัทเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน

การเพิ่มประสิทธิภาพ

ก๊าซเรือนกระจกเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยก๊าซเรือนกระจกเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งด้านอุทกวิทยา หรือการจัดการแหล่งน้ำ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกได้รณรงค์เพื่อลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันอย่างกว้างขวางและจริงจัง

บริษัทตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างการเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานถือเป็นความท้าทายของบริษัทในการวางกลยุทธ์บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน การที่สินค้าและบริการจะส่งมอบไปสู่มือของผู้บริโภคนั้น มีกระบวนการจัดการที่เกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่การจัดซื้อ การผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง และการจัดจำหน่าย รวมเรียกว่า ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ซึ่งปัจจุบันกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานจะเป็นรูปแบบเครือข่าย (Network) ที่คำนึงถึงประเด็นความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณค่าอันจะช่วยเพิ่มโอกาส ลดความเสี่ยงและเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ

การดูแลสังคมและชุมชน

บริษัทให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคม ควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจ ทั้งในการสร้างเศรษฐกิจ การพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน ผ่านกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่ริเริ่มขึ้นและจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการเคารพสิทธิมนุษยชนในทุกพื้นที่ที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความสุขและการสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชนโดยรอบให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมายสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนระยะยาว

มิติเศรษฐกิจ

มิติสิ่งแวดล้อม

มิติสังคม